อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ตราสัญลักษณ์


ที่ตั้ง
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยลึก อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอควนเนียงประมาณ 12 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จดเขตตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ทิศใต้ จดเขตตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก จดเขตตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก จดเขตตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยลึก มีเนื้อที่โดยประมาณ 44.02 ตารางกิโลเมตร (27,504 ไร่)

ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลห้วยลึก มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่บางส่วนอยู่ติดทะเลสาบสงขลา ในช่วงฤดูฝนจะประสบปัญหาน้ำทะเลหนุนทำให้น้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี ช่วงฤดูแล้งมักขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกทำการเกษตรและการประมง

ที่ตั้ง
ตำบลท่าหิน เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสทิงพระ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ อำเภอสทิงพระ ตั้งอยู่บนริมฝั่งทะเลสาบสงขลา พื้นที่ตั้งตามแนวเหนือ - ใต้ ขนานไปกับริมทะเลสาบสงขลา อยู่ห่างจากตัวอำเภอจากจุดที่ไกลที่สุด ประมาณ 18 กิโลเมตร

อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคูขุด  
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร          
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ่อแดง ตำบลบ่อดาน และ ตำบลวัดจันทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลสาบสงขลา

ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลท่าหิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม จดชายฝั่งริมทะเลสาบสงขลา ดินมีลักษณะเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย



ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ตำบลห้วยลึก

จากคำบอกเล่า สมัยก่อนในพื้นที่ห้วยลึกเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีลำคลองหลายสายที่ไหลมาจากทางทิศตะวันตกทำให้เกิดลำคลองใหญ่ผ่านลงสู่ทะเลสาบสงขลา ลำคลองทิศใต้ที่สำคัญในยุคนั้น คือ คลองหล่อมาจนถึงบ้านห้วยลึกเพราะเป็นคลองขนาดใหญ่และมีความลึกทำให้มีเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาทำการค้าขายจึงเกิดตลาดนัด และชาวบ้านในอดีตส่วนใหญ่ใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางและทำมาหากิน นายอำเภอจึงได้ตั้งชื่อตำบลนี้ว่า “ห้วยลึก” จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
"การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจดี มีความรู้ทันสมัยบนพื้นฐานความอยู่ดีมีสุขของประชาชน "
พันธกิจ
1 จัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2 จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร
3 จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ
4 ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนและกลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ
5 ส่งเสริมการศึกษา
6  พัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
7  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
8 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
9  ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
10  ป้องกันและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1  การคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำมีความสะดวกรวดเร็ว
2 ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้พอเพียง
3 ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง
4  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5  น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรมีอย่างเพียงพอ
6  มีสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน และทั่วทุกหมู่บ้าน
7 ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
8  มีการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสให้มีมาตรฐานและทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
9 พัฒนาสินค้าการเกษตร และสินค้า OTOP ป้องกันแก้ไขบำบัด
และปราบปรามยาเสพติดให้มีมาตรฐานและต่อเนื่อง
อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง 10 อนุรักษ์วัฒนธรรมจารีตประเพณีท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดีงามอย่างต่อเนื่อง
11  การบริหารงานได้มาตรฐาน